วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

BUKRUK l งานศิลปะเจริญกรุง l เดินตามหางาน Graffiti ในกรุงเทพมหานคร l สุดยอด ควบคุม

BUKRUK l งานศิลปะเจริญกรุง 12/2/2559



เช้าวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10 : 00 โดยประมาณ ผมเดินทางจาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ไปยังย่านเก่าแก่ในเมืองอย่างถนนเจริญกรุง เพราะมีภารกิจในการไปฟังบรรยายงานศิลปะที่ Speedy Grandma Gallery และได้ยินว่ามีงานศิลปะ "บุกรุก" แสดงอยู่บริเวณนั้นเช่นกัน ก็เลยคิดว่าจะเดินไปชมงานศิลปะ Street Art ที่เค้าว่ากันว่าเป็นระดับโลกด้วยเลย

"บุกรุก" เทศกาลงานศิลปะกลางเมือง คำว่าบุกรุกในภาษาไทยความหมายหรือนัยยะของมันคือการลุกล้ำเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ต่างๆ เราอาจจะสังเกตจาก Ads โฆษณาของงานนี้เป็นภาพของมนุษย์ต่างดาวถือลูกกลิ้งสีที่แสดงถึงการเข้ามาบุกรุกทาสีในสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งการที่ใช้ภาพมนุษย์ต่างดาวก็อาจสื่อถึงการที่ศิลปินต่างๆที่เข้ามาทำงานนี้ส่วนใหญ่แล้วก็น่าจะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานศิลปะ ในที่นี้ก็เป็นศิลปะที่เรียกว่า Street Art เป็นงานศิลปะที่พูดถึงการปลดแอกความเป็นศิลปะออกจากอำนาจของสถาบันทางศิลปะ และการท้าทายอำนาจรัฐ หรือว่าการความคุมทางสังคมหรือว่าการบุกรุก ความเป็นสาธารณะมันมีจุดประสงค์เพื่อที่จะให้ศิลปะเข้าไปในวิถีชีวิตของคนทั่วไปได้มากขึ้น มีความน่าสนใจตรงที่พื้นที่ของศิลปะ เป็นพื้นที่สาธารณะ คนดูหรือผู้ชมต่างๆ สามารถรับรู้และะเข้าถึงได้ง่าย แต่ตอนที่ได้ยินข่าวเกี่ยวกับงานนี้ครั้งแรกผมก็ยังลุ้นอยู่ว่า Feedback มันจะเป็นอย่างไร


ผมไปถึง Speedy Grandma Gallery เวลาประมาณ 12:00 น. พอดี ซึ่งมีเวลาเพียง 2 ชม. เท่านั้นสำหรับการเดินหาผลงานบุกรุกตามจุดต่างๆ ซึ่งก็ได้แผนที่จุดของงานต่างๆมาจากแกลเลอรี่ นั่นเอง ก่อนที่จะต้องเข้าไปฟังบรรยายจากพี่ศิลปินในเวลา 14:00 น.

ระหว่างที่กำลังเดินหาผลงานอยู่นั้นก็คิดว่าการที่งานศิลปะมาอยู่ในพื้นที่ที่เป็น สาธารณะ Public Art คุณค่าของมันจะอยู่ตรงไหน เพราะโดยส่วนใหญ่ที่เห็นและรับรู้มาคืองานศิลปะสาธารณะส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่คนไม่ได้ให้ความสนใจมากเท่าในพิพิธภัณฑ์อยู่แล้ว เพราะก็เคยมีอาจารย์ที่สอนศิลปะวิจารณ์ไม่เชื่อเรื่องงาน Public Art นั่นแหละแล้วอาจารย์ก็เคยไปนั่งเฝ้าผลงานที่ตั้งอยู่กลางแจ้งอยู่ทั้งวันแต่ก็ไม่ได้มีใครมาเพื่อยืนดูงานแบบตั้งใจเลยสักครั้ง เพราะคิดว่ายังไงงานศิลปะมันต้องมีกรอบมีพื้นที่ของมันอยู่ในขอบเขตนั้นๆ และยิ่งนี่ประเทศไทยมันก็ทำให้ผมอดคิดไม่ได้อีกเช่นกันว่าถ้ามีงานศิลปะระดับโลกมาอยู่ในบริเวณนี้เค้าจะรู้สึกอย่างไรบ้าง ? ซึ่งในขณะที่กำลังคิดไปเดินไปก็ยังไม่เจอผลงานเลยสักชิ้น ร่างกายตอนนั้นก็เต็มไปด้วยเหงื่อเนื่องจากอากาศที่ร้อนอบอ้าว สังเกตเห็นร้านขายน้ำเฉาก๊วยอยู่ร้านนึงจึงเดินเข้าไปสั่งมารับประทานเพื่อหวังจะดับกระหาย และแอบคิดในใจว่าถ้าถามคุณลุงคนที่ขายเฉาก๊วยว่าพอจะเห็นงานศิลปะแถวนี้บ้างมั๊ย คำตอบที่คิดไว้ก็คงจะเป็นสิ่งที่ลุงไม่ได้สนใจอะไรอยู่แล้ว แต่กลับกันเลยครับ ในขณะที่กำลังยืนสั่งเฉาก๊วยมารับประทานคุณลุงก็พูดออกมาก่อนที่ผมจะถามด้วยซ้ำว่า "มีภาพวาดอยู่ตรงนู้นนะตรงนี้นะ เดินไปดูหรือยัง มีเยอะแยะเลย ตรงนั้นนะลุงเห็นเลยเค้าเอารถเครนยกขึ้นไปวาดเลยนะ และลุงชอบมากรูปวาดที่อยู่ทางนู้นนะ ช้างตกตึก ๆ ลองไปดูสิ" ผมรู้สึกแปลกใจเล็กน้อยแต่ก็ทำให้ผมรู้สึกถึงความหมายของงาน Street Art ได้มากขึ้น เพราะความชอบในงานศิลปะมันก็คงมีอยู่ในตัวทุกคนอยู่แล้ว สิ่งหนึ่งที่เห็นคือมันทำให้วิถีชีวิตเดิมๆของผู้คนในระแวกนั้นดูมีสีสันขึ้นมาได้ และคำที่เค้าบอกว่าศิลปะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้นก็น่าจะเป็นจริงแหละครับ





สุดท้ายผมหาภาพช้างตกตึกของคุณลุงไม่เจอนะ แต่ว่ามาเห็นในสื่อโซเชียลต่างๆทีหลังนะครับ ก็รู้สึกว่าสวยดี แต่จริงๆหลังจากที่ไปดูงานมาก็มีผลงานที่ตัวเองถูกใจอยู่แล้วชิ้นหนึ่ง เป็นผลงานของ Daan Botlek กับภาพการ์ตูนที่เป็นลายเส้นคนแบบง่ายๆมีงาน Installation ที่เป็นแผ่นไม้รูปคนในแบบของศิลปิน ถูกจัดวางไว้กลางแจ้งแต่มีการใช้สีดำในการสร้างเงาขึ้นมาในตัวผลงานให้ความรู้สึกลวงตาระหว่างโลกจริงกับผลงานที่เป็นกราฟฟริกซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกันก็คือเงานั่นเอง แต่มีอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจของศิลปินคนนี้คือ ภาพเขียนเพ้นธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา เป็นงานจิตรกรรมที่เป็นงาน Interactive มีปฏสัมพันธ์กับคนดูด้วย คือใช้สีเรื่องแสงในการนำมาเพ้นผลงานและให้คนดูมีส่วนร่วมกับงานคือเวลาฉายแสงไฟลงไปในภาพ ภาพก็จะเกิดการเรืองแสงขึ้นมาได้ครับ



______________________________________________________________________

17/3/2559  FEED : The world’s best animated short film from Thailand 2014 
กำกับโดย ประภาส   ชลศรานนท์ และ ชัยพร พานิชรุทติวงศ์  



           จากชื่อหนัง FEED  (ฟีด) ที่แปลว่า การให้อาหาร ภาพเปิดมาด้วยทุ่งหญ้าเขียวขจี มีจิ้งจกตัวหนึ่งกำลังไล่จับแมลงเต่าทอง โดยที่เรารับรู้ (Perception) ได้โดยทั่วไปว่าแมลงเป็นอาหารของจิ้งจกตามธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ใช้ในการดำเนินเรื่อง และภาพตัดไปที่ต้นไม้ต้นหนึ่งใจกลางทุ้งหญ้านั้นมีคุณยายคาแรคเตอร์เป็นคนที่ใจดีมาก แว่นตาใส สีเสื้อผ้าสะอาด ตะกร้าอาหารที่แกถือก็แสดงให้เราเห็นว่ายายน่าจะเป็นผู้ให้อาหาร และความเป็นยายหรือหญิงชราผู้ที่มีอายุเยอะแล้ว ก็อาจมีนัยยะแฝงที่หมายถึงผู้ที่มีประสบการณ์มามากแล้วอีกด้วย  ซึ่งหลังจากนั้นยายนำสัตว์เลี้ยงออกมาจากตะกร้า ซึ่งสัตว์เลี้ยงมีขนาดตัวเล็กเท่าฝ่ามือเท่านั้น ยังไม่โตเต็มที่หรืออาจมีนัยยะแฝงหมายถึงเด็กที่ยังไม่โตหรือเป็นผู้ที่ยังอ่อนประสบการณ์ หลังจากนั้นยายก็เอาอาหารให้กินทีละชิ้นซึ่งก็มีความหมายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูด้วยเหมือนแม่กับลูก  แต่ก็สังเกตได้ว่าอาหารที่ใช้ป้อนเป็นอาหารที่ไม่ใช่อาหารไทย โดยจะเห็นว่ามีทั้งอาหารญี่ปุ่นและแซนวิชด้วย ซึ่งอาจจะโยงไปในเรื่องของธุรกิจในปัจจุบันที่เรารับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา โดยในตอนแรกสัตว์เลี้ยงตัวนั้นก็เหมือนไม่ได้อยากกิน แต่พอได้กินคำแรกแล้ว ชิ้นต่อๆไปก็เริ่มกระหายอยากกินเอง ไม่อยากรอยายมาป้อนแถมยังฉกจากมือยายอีกด้วย  และขนาดตัวก็ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวด้วยต่อการกินหนึ่งครั้ง และในที่สุดตัวของมันก็โตกว่ายายและมีท่าทีว่าจะกินคุณยายซึ่งตรงนี้ ตัวเรื่องใช้เทคนิคในการเล่นกับ Perception ของเรา  เพราะเราก็คิดว่าเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวนี้ต้องกินคุณยายเข้าไปแน่นอนตามความเข้าใจของเราที่คิดว่าปลาใหญ่ต้องกินปลาเล็กสิ  แต่กลับกันคุณยายกลับกินเจ้าสัตว์เลี้ยงของตัวเองเข้าไปแทน เหมือนกับคนที่ปลีกกล้าขาแข็งแล้ว จนคิดว่าตัวเองเหนือกว่าแต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับคุณยายที่เป็นคนให้อาหารมาตลอดนั่นเอง และจากนั้นคุณยายก็มีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่โผล่มาอีกเรื่อยๆจากตะกร้า ซึ่งเราเข้าใจได้ว่าน่าจะเป็นการกระทำที่วนซ้ำไปซ้ำมาในลักษณะเดิมนี้ ซึ่งหลังจากนั้นก็ตัดภาพมาเหมือนกับเป็นการเฉลยอีกครั้งหนึ่งว่าสิ่งที่เราคิดนั้นอาจจะไม่ได้เป็นจริงเสมอไปก็ได้ โดยมีภาพจิ้งจกตัวเดิมที่กำลังไล่ตามแมลงเต่าทอง โดนแมลงเต่าทองจับกินแทนเช่นกัน

STORY
-  ยายพาสัตว์เลี้ยงมาให้อาหาร
-  สัตว์เลี้ยงออกมาจากตะกร้าน่ารักน่าเอ็นดู
-  ยายพยายามป้อนอาหารให้สัตว์เลี้ยง โดยที่ในตอนแรกมันก็ไม่ค่อยอยากกิน  แต่พอได้กินครั้งแรกก็อยากกินอีกเรื่อยๆ
-  สัตว์เลี้ยงกินอาหารที่ยายป้อนให้ไปเรื่อยจนตัวใหญ่กว่ายาย
-  เมื่อสัตว์เลี้ยงโตเต็มที่แล้วยายก็กินสัตว์เลี้ยงของตัวเองทันที
-  หลังจากนั้นยายก็มีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ออกมาจากตะกร้า

NARRATION
-  มีจิ้งจกตัวหนึ่งกำลังพยายามไล่จับแมลงเต่าทองบริเวณทุ้งหญ้ากว่างใหญ่บรรยากาศอบอุ่น
-  ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งยายนำสัตว์เลี้ยงใส่ตะกร้ามาตัวเล็กน่ารัก
- ยายพยายามป้อนอาหารให้สัตว์เลี้ยง โดยที่ในตอนแรกมันก็ไม่ค่อยอยากกิน  แต่พอได้กินครั้งแรกก็อยากกินอีกเรื่อยๆ
-  สัตว์เลี้ยงกินอาหารที่ยายป้อนให้ไปเรื่อยจนตัวใหญ่กว่ายาย
-  สัตว์เลี้ยงตัวนั้นมีท่าทีว่าจะกินยาย
-  พอสัตว์เลี้ยงโตเต็มที่แล้วยายก็กินสัตว์เลี้ยงของตัวเองทันที
-  หลังจากนั้นยายก็มีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ออกมาจากตะกร้า
-  จิ้งจกตัวที่เห็นในตอนแรกโดนแมลงเต่าทองจับกิน
  _____________________________________________________________________

12/4/2559 สัพเพเหระงานศิลปะและความเข้าใจ - สุดยอด   ควบคุม ?                                                                      
ผมเคยเขียน Status ใน Facebook อยู่ครั้งนึงเป็นภาพที่ถ่ายคู่กับงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ที่ผมไม่รู้เลยว่างานชิ้นนี้มันสื่อความหมายถึงอะไร จะเห็นก็มีเพียงแต่ชื่อศิลปินที่ติดเป็นแคปชั่นเอาไว้ข้างๆผลงาน ผมโพสภาพนี้ขึ้นไปแล้วตั้งคำถามว่า "หรือจริงๆแล้วคุณค่าของงานศิลปะอาจถูกตรึงอยู่กับลายเซ็นก็เป็นไปได้" และผมก็เชื่อแบบนั้นจริงๆ โดยหลังจากนั้นก้มีอาจารย์ที่สอนศิลปะต่างๆเข้ามาคอมเม้นโต้แย้งต่างๆนานาว่ามันอาจจะไม่ใช่แบบนั้นก็ได้ ราวกับกำลังบอกว่างานศิลปะมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองมันดีแบบนู้นดีแบบนี้ 
ผมเป็นนักเรียนศิลปะตั้งแต่มัธยมปลาย วาดรูปมาตั้งแต่เด็กแต่ไม่เคยมีใครให้คำตอบกับผมได้เลยว่าจริงๆว่าผมจะขายงานของผมได้ยังไง ในขณะที่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ คณะแพทย์ศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ต่างมีสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้เราเห็นว่าเมื่อเค้าเรียนจบออกมาแล้วเค้าจะไปเป็นอะไรกัน เรียนแพทย์จบไปก็เป็นหมอ เรียนบริหารธุรกิจจบไปก็ไปเป็นนักธุรกิจ เรียนนิเทศก็ไปเป็นดาราไปเป็นเบื้องหลังวงการบันเทิงต่างๆ คำถามคือแล้วเรียนศิลปะจบไปทำอะไร? เชื่อว่าไม่ใช่ผมคนเดียวที่โดนถามเชื่อว่าน่าจะเป็นเด็กที่เรียนศิลปะทุกคนคงเคยโดนถามคำถามนี้ มันก็จะย้อนกลับไปว่าเราทำงานศิลปะโดยที่สถานศึกษาก็ไม่เคยบอกเราว่าเมื่อเรียนจบแล้วเราควรจะไปทำอะไร (ซึ่งงานศิลปะในความคิดผมถ้ามันไม่ได้วางอยู่ในแกลเลอรี่ หรือศิลปินดังๆเป็นเจ้าของมันก็ขยะดีดีนี่เอง)
เอาเป็นว่าเราลืมเรื่องศิลปะกับวิชาชีพไปก่อน โดยผมจะขอไปพูดถึงเรื่องความงามกับศิลปะที่ผมเคยได้ยินว่า art for art's sake ศิลปะเพื่อศิลปะ ศิลปะเป็นสิ่งที่แยกออกจากสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตต่างๆ ซึ่งในโลกตะวันตกตามประวัติศาสตร์ศิลปะเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าศิลปะที่เหมือนจริง ถูกคลี่คลายลงไปจนเหลือแต่ความคิดหรือคอนเซ็ปเท่านั้น ความคิดของเราก็เป็นงานศิลปะได้ ศิลปะมีคุณค่าอย่างนู้นอย่างนี้ คำถามต่อไปคือแล้วคุณค่าของงานศิลปะมันอยู่ที่งานเท่านั้นจริงๆหรอ ถ้าสมมุติผมทำงานศิลปะที่ดีมากๆขึ้นมาชิ้นหนึ่งแต่ผมไม่ได้เป็นที่รู้จักไม่ได้มีชื่อเสียงใดใดเลย งานศิลปะของผมมันจะดังขึ้นมาได้มั๊ย ?
"นารีงามสัตย์เมื่อดับไฟ" สมมุติว่าลองปิดไฟแล้วมีเพศสัมพันธ์กับใครสักคนโดยที่เราไม่เห็นหน้าคนนั้นมาก่อนคุณจะบอกได้มั๊ยว่าคนไหนดีคนไหนมีคุณค่ามากกว่ากัน แน่นอนถ้าคุณปิดไฟอยู่คุณก็ต้องบอกว่าคนที่มีชั้นเชิงบนเตียงดีกว่า แต่ถ้าคุณเปิดไฟแล้วเห็นหน้ามันก็ต้องมาวิเคราะห์กันอีกทีใช่มั๊ยครับว่าใครสวยกว่ากัน คนไม่สวยที่ลีลาดีกับคนสวยที่ลีลาไม่เด็ด ความรู้สึกของเรามันก็ต่างกันเพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆเหล่านี้มันมีเอฟเฟค เพราะฉะนั้นการซื้อของที่มีหน้าตาเหมือนกันแต่มันต่างกันตรงจิตวิทยานี่แหละครับ ... ผมเคยลองกินขนมนะครับ แบบที่กินจากซองเห็นรูปภาพซองขนมที่ถูกตัดต่อเพิ่มเติมมาให้ดูน่ากิน มันอร่อยกว่าการเทขนมออกจากซองแล้วกินบนจานเปล่าๆซะอีก นั่นก็เพราะซองขนมมันมีอิทธิพลต่อการรับรสของเราครับ มันจึงทำให้ผมคิดว่าถ้าสมุุติว่าขนมเป็นงานศิลปะ เราจะรู้สึกว่ามันมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันมีหลายๆปัจจัยรวมอยู่ในนั้น ขนมมันไม่สามารถมีคุณค่าด้วยตัวมันเองได้แน่นอนถ้ามันไม่มีห่อสวยๆ ยี่ห้อดีๆ เพราะความรู้สึกของเรามันก็จะเปลี่ยนไปตามปัจจัยต่างๆเหล่านี้
            สมมุติว่าสามเหลี่ยมอันนี้เป็นงานศิลปะ ในโลกของตะวันตกพยายามทำให้สามเหลี่ยมนี้มีคุณค่าด้วยตัวของมันเองโดยที่ตัดองค์ประกอบอื่นๆออกไป ถามว่ามันเป็นแบบนั้นได้จริงๆหรือ ? ในเมื่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบมันมีเอฟเฟคกับเราทั้งนั้น ถ้าผมบอกว่าสามเหลี่ยมนี้ถูกวาดโดยปิกาสโซ่ความรู้สึกเราก็เปลี่ยนไปใช่มั๊ยครับ
            
            เพราะฉะนั้นมันเป็นสภาวะทางจิตของเราอ่ะครับ สภาวะทางจิตของเรานั้นสำคัญ ไม่งั้นใครก็เป็นพ่อแม่เราได้ดิใช่มั๊ยครับ     ถามว่าเวลาเราเลี้ยงหมาสมมุติตัวเก่าตายแล้วได้ตัวใหม่มา มันหมาเหมือนกันใช่มั๊ยครับ คุณก็จะบอกว่าไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผมก็อาจจะบอกว่าขับรถเก๋งกับขี่ควายก็เหมือนกัน แต่มันไม่เหมือนกันหรอกครับ ที่นี่แต่พอความซับซ้อนนี้มันเพิ่มมากขึ้นกับไอรสนิยม มันก็จะวุ่นวายขึ้นไปอีกเพราะเราไม่ได้พูดถึงคุณภาพว่า เราไม่ได้คิดว่าเออสิ่งนี้มันมีฟังชั่นอะไรแต่เรากำลังพูดถึงความอะไรอื่นๆที่มันคือสภาวะ ในแง่ของสุนทรียะศาสตร์คือสภาวะทางจิต เพราะอันนี้มันคือสิ่งสำคัญ โลกตะวันตกต้องการตัดสิ่งพวกนี้ออก แล้วจะตัดได้มั๊ยละครับ และประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งหมด คุณลองนึกภาพละกันถ้าสมมุติมีคนดำคนนึงเดินเข้ามาหาคุณกับคนดำอีกคนนึงชื่อโอบาม่าเดินเข้ามาหาคุณความรู้สึกของคุณมันจะต่างกันใช่มั๊ยครับ เพราะฉะนั้นมันมีเอฟเฟค คือถ้าเป็น 50 ปีที่แล้วโอบาม่าเดินมา ก็แค่คนดำคนนึงเดินเข้ามาไม่มีอะไรเกิดขึ้นเพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงสภาวะอันนี้นะครับ เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าไอฉลากหรือยี่ห้อต่างๆในโลกทุนนิยมมันมีอิทธิพลต่อเราทั้งนั้นแหละครับ ก็เหมือนสามเหลี่ยมนี้ถ้ามันเซ็นว่าปีกาสโซ่ มันจะมีอิทธิพลกับเราแน่นอน งานศิลปะก็เหมือนกันเพราะฉะนั้นมันซับซ้อนมากเพราะเป็นสิ่งที่เล่นอยู่กับอารมณ์ ความรู้สึก เพราะฉะนั้นมันก็จะมีความสำคัญมากกับชีวิตของพวกเราครับ ผมคิดว่านักเรียนศิลปะควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกต่างๆพวกนี้




               คุณลองดูคลิปนี้นะครับ  ผู้ชายคนนี้ถือไวโอลินราคาเป็นแสน ไม่รู้กี่ร้อยเหรียญ เค้าคือนักไวโอลีนคนดังของโลก เค้าไปทดลองไปยืนเล่นไวโอลินในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินใน วอชิงตัน ดีซี ปรากฎว่าไม่มีใครคนไหนสนใจยกเว้นมีผู้หญิงคนนึงดันจำได้ว่านี่คือ Joshua Bell  เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงสิ่งพวกนี้ ผมคิดว่า มนุษย์ไม่ได้ชื่นชมแค่ว่าไอสามเหลี่ยมอันนี้มันทำออกมาสวย มันไม่จริงหรอกครับคลิปนี้ยืนยันได้


        ถ้าเปรียบธรรชาติกับผลงานศิลปะ ลองนึกภาพภูเขานะครับ ภูเขาไม่มีสถานะภาพใดใดเลย นึกออกมั๊ยครับ แต่รูปของปิกาสโซ่มีสถานะอะไรบางอย่าง ความงามทางธรรมชาติคุณไม่สามารถบอกได้ว่าภูเขามันยิ่งใหญ่กว่ามหาสมุทร ตอบไม่ได้ใช่มั๊ยครับ มันก็แล้วแต่คุณว่าชอบภูเขาหรือมหาสุมทรมากกว่ากัน เพราะฉะนั้นพูดง่ายๆก็คือในงานของธรรมชาติเนี้ย มันไม่มีสไตล์ มันไม่มีเรื่องทางสังคมที่สังคมมันยอมรับสถานภาพ ทีนี้โดยทั่วๆไปแล้วเนี้ย ธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งซึ่งไม่มีกรอบไม่ได้มีอะไร แต่เราจะรู้สึกว่าขนาดมันมีความสำคัญมันมีอิทธิพล เราก็จะเห็นได้ชัดเจน ในงานศิลปะปัจจุบันไซด์มันต้องใหญ่มันก็จะมีอิทธิพล รูปเพ้นเล็กๆมันก็ไม่มีใครทำนะครับ เพราะมันขายไม่ได้ แล้วทำไมคนถึงสนใจเรื่องขนาดทำไมขนาดถึงมีอิทธิพลใช่มั๊ยครับ?  มันก็กลับไปสู่สิ่งที่เราพูดคือสมมุติ เวลาคนเดินผ่านมาถ้าเป็นผู้หญิงหน้าอกโต มันก็จะต้องเป็นที่ดึงดูดสายตาของผู้ชายใช่มั๊ยครับ เพราะฉะนั้นไซด์มันสำคัญ เช่นถ้าคุณขับรถมอไซด์แล้วเจอสิบล้อคุณจะคิดว่าไซด์มันสำคัญมั๊ยล่ะครับ โดยทั่วๆไปไซด์มันก็จะเป็นสิ่งแรกที่มันมีอิทธิพลต่อเรา ผมคิดว่าในทางกลับกันผู้หญิงในจำนวนมากเวลาเห็นของผู้ชายใหญ่มันก็ต้องน่าสนใจเช่นกัน เพราะฉะนั้นเวลาจัดแสดงงานศิลปะอะไรพวกนี้ ห้องหรือแกลเลอรี่มันเลยต้องใหญ่ มันจึงจะมีอิทธิพลต่อเรา คุณลองนึกภาพนะครับ ถ้าโอบาม่าเพ้นรูปขายเพื่อการกุศลคุณคิดว่าจะขายได้มั๊ยครับ แต่ถ้าเกิดเป็นผมที่ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรเพ้นรูปขายคุณคิดว่ามันจะขายได้มั๊ยครับ มันเจ๊งแน่นอนใช่มั๊ยครับ คล้ายๆกับพวกกระเป๋าแบรนด์เนม เพราะว่าพวกแบรนด์เนี้ยมันมีอิทธิพลกับจิตวิทยาของเรา เราหนีมันไม่พ้นหรอกครับ เราไม่ได้คำนึงถึงความจริงว่าไอกระเป่าแบรนด์เนมเนี้ยมันมีคุณภาพจริงๆหรือเปล่า เราไม่ได้สนใจ เราสนใจแค่ว่าไอแบรนด์เนี้ย มันมีอิทธิพลกับเรา เพราะฉะนั้นเราไม่ได้พูดถึง เนื้อหาหรือปริมาณคุณภาพ แต่เรากำลังพูดถึงทั้งหมดที่มันมีอิทธิพลกับเรากับการที่มันติดยี่ห้อนี้ต่างๆลงไป เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงศิลปะสมัยใหม่ที่พยายามเอาสิ่งพวกนี้ออกจากแกลเลอรี่ต่างๆ ตัวศิลปินเองมันก็มีแบรนด์ของตัวเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ที่ตัวผลงานเท่านั้น
          
         นี่ก็คือวิธีคิดของโลกตะวันตกที่ต่างจากเรา ตกลงแล้วเนี้ยคุณชื่นชมงานนี้จริงๆหรือทั้งหมด บางคนก็อาจจะบอกว่าต้องชื่นชมงานในตัวของมันจริงๆ แต่ถามว่าในงานของตัวมันเองแยกขาดจากสิ่งพวกนี้ได้มั๊ยละครับ เพราะฉะนั้นอาจบอกได้ว่าเวลาคุณชื่นชมงานชิ้นนี้ก็คือคือคุณกำลังชื่นชมสิ่งอื่นๆที่อยู่รวบๆมันด้วย แต่ฝรั่งต้องการให้เราชื่นชมแต่สิ่งนี้ล้วนๆ นั่นเองครับ

            ด้วยเหตุผลต่างๆเหล่านี้เองผมจึงคิดว่าผมอาจจะเป็นนักเรียนศิลปะที่มีความคิดต่างจากนักเรียนศิลปะทั่วไปที่มักจะคำถึงว่าเราต้องทำผลงานออกมาให้ดีที่สุดโดยหวังให้ผลงานศิลปะสร้างชื่อให้กับเราเท่านั้น ต้องทำงานศิลปะออกมาให้มีคุณค่าอย่างนั้นอย่างนี้ สำหรับผมแล้วการสร้างชื่อให้กับตัวเองก็มีความสำคัญไม่แพ้กับการสร้างงานศิลปะเลยแม้แต่น้อย เพราะการมีชื่อเสียงควบคู่ไปกับการทำงานอย่างต่อเนื่องก็เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลและสามารถทำให้งานของเราเป็นที่ยอมรับได้ งานศิลปะ เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ที่ดีเราสามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนศิลปะไปผสมผสานกับความรู้ในสาขาวิชาชีพอื่นๆเพื่อให้เกิดรายได้ขึ้นมาได้และซึ่งความคิดสร้างสรรค์ที่เราได้จากการทำงานนี่แหละคือสิ่งที่สำคัญ การที่มีคนถามว่าเรียนศิลปะแล้วจะไปทำงานอะไร ? ผมคิดว่าคำตอบนี้้แหละน่าจะเหมาสมที่สุดแล้ว เพราะจริงๆแล้วการเรียนศิลปะสามารถทำให้เราไปต่อยอดและทำงานได้ในทุกอย่างในทุกสาขาอาชีพ จึงไม่ใช่เแปลกที่นักเรียนศิลปะตอบไม่ได้ว่าจบไปจะไปทำอะไรเพราะเราทำได้ทุกอย่างนั่นเอง
______________________________________________________________________

28/4/2559 ตลาดศิลปะ

ในเรื่องของกลไกตลาดศิลปะบ้านเรานั้น ก็คือคนอย่างอาจารย์ ทำงานขึ้นมาก็จะมีลูกศิษย์ อาจารย์ทำงานศิลปะก้าวไปแค่ไหน ก็จะแนะนำลูกศิษย์ของตัว ประมาณว่า อันนี้พอเก็บงานไว้ได้ราคาไม่แพงก็พอซื้อไว้ได้ครับ ช่วยเด็กไป มีเงินเรียนด้วย งานก็ดี พอเด็กเหล่านั้นโตขึ้นก็มาบรรจุเป็นอาจารย์ก็มีอาชีพสองอาชีพทำงานไปเรื่อยๆ เด็กก็จะเป็นหนึ่งในสาวกอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นแบบนี้สักสามคนสี่คนเหมือนพวกอาจารย์ศิลปะที่เค้าทำกัน  คุณก็จะมีกลุ่มคนแล้วคุณก็จะสนับสนุนกลุ่มคนของคุณ การสนับสนุนแบบนี้มันทำได้แม้กระทั้งว่าทำไมอาจารย์สอนศิลปะที่แทบจะไม่ได้ทำงานศิลปะแล้วแต่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติทั้งที่มันเป็นเรื่องตลก เนื่องจากคนเสนอคือกลุ่มคนที่กล่าวมานั่นเอง เพราะฉะนั้นมันมีกระบวนการของมันซึ่งเป็นการเมืองซึ่งเราไม่รู้จักและเราอยู่นอกวงของมันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้คือสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้เองว่า ถ้าอย่างงั้นมันจะเป็นไปได้มั๊ย ว่าผู้ซื้อใหม่จะขยับ Aesthetic  ได้ ซึ่งโอกาสแทบจะไม่เหลือแล้ว เพราะว่าเอะอะอะไรก็งานครูซื้อไม่ไหวขอซื้อลูกศิษย์ละกัน มันก็เล่นกันแบบนี้มาโดยตลอดนึกออกมั๊ยครับ พอมันมาเป็นแบบนี้งานศิลปะมันก็ไปไม่ไกลเพราะมันไม่ได้รับการส่งเสริมการทำความเข้าใจว่างานคุณต้องทำนิทรรศการให้คนเห็นนะ ทำให้มันมีความชอบทำพยายามขายให้มันได้ เข้าหามันให้อยู่ในระบบพิพิธภัณฑ์ให้ได้นะอะไรอย่างนี้ ผมว่าอย่างนี้มันเป็นเรื่องที่ไกลเกินไปสำหรับการตลาดศิลปะบ้านเรา เพราะฉะนั้นเรื่องตลาดมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมันมีเรื่องรายละเอียดเยอะมาก

Art กับ Artist เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันเสมอตราบใดก็ตามที่ Artist ยังไม่ตาย ถ้าเราแยกมันออกจากกัน  ถ้าเกิดมีงานที่ดีเราก็จะไม่รู้ว่างานนั้นดีหรือเปล่าถ้า Artist ไม่พูด และเราก็จะไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่ Artist พูดโม้อยู่หรือเปล่าถ้าเรายังไม่ได้รู้จักกับตัวศิลปิน ความเป็นตัวศิลปิน หรือแถลงการณ์ของศิลปินรวมถึงงานศิลปะ ต้องทำความเข้าใจสิ่งนี้ด้วย ไม่ใช่เอาแต่เลือกซื้องานที่ดี สุดท้ายเราก็จะโดนงานหลอก สำหรับผมการมองผลงานที่ดีต้องมองที่ตัว Artist ด้วย แต่ครูสอนศิลปะบางคนก็อาจจะไม่ได้คิดแบบนี้ คิดแต่เพียงว่าคนไหนทำงานดีเท่านั้น  Artist กับArt นั้น สำคัญมาก อย่างงานของศิลปินบางคนที่ขายได้หลักล้าน ถ้าถามว่ามันดีมั๊ย ? ใครๆก็ต้องบอกว่าดี แต่เราต้องเปรียบเทียบงานตั้งแต่ชิ้นแรก แล้วแยกสิ่งที่ดีที่สุดออกจากสิ่งที่คิดว่าดี แล้วสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่คิดว่าดีมีส่วนไหนที่ไม่ดีคือข้อด้อยของศิลปะที่มีอยู่ทุกคน คนทำงานศิลปะก็จะต้องรู้ว่าข้อด้อยในศิลปะมีจริง และเมื่อแยกได้ดังนี้เราก็จะรู้ว่ามีส่วนไม่ดีอยู่ในงานอย่างไร แล้วเราก็จะรู้ว่างานไหนเล่นหรือไม่เล่น  อย่างเช่น  สมมุติมีเงินอยู่ 10 ล้าน  ก็จะต้องแบ่งฐานะผู้ซื้อออกเป็นสองส่วนคือ ซื้อแบบ Buyer กับ Collector ซื้อ  ล้านเพื่อการลงทุนและ ล้านเพื่อ Collection  ล้านนี้สมมุติผมต้องการ 14 ล้าน ในฐานะมูลค่าเพิ่ม เพราะฉะนั้นเราก็จะมีงาน ล้านอยู่อยู่ในมือพร้อมกับมีเงินสด 14 ล้าน ในสามล้านมองเป็น Collection และอีกอีกเจ็ดล้านมองแบบ Buyer เพื่อที่จะ Buy and Sell  เรื่องแบบนี้เราก็คงไม่ได้รู้จากแกลเลอรี่เพราะเค้าก็คงไม่มีทางบอกเรา เพราะเค้าอยู่ในตลาดในฐานะผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น