วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เจาะลึก !! ภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | สุดยอด ควบคุม

เจาะลึก !! ภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

                             สวัสดีครับ … ท่านผู้อ่านทุกท่านหรือน้อง ๆ ทุกคนที่กำลังสนใจหรืออยากเข้าศึกษาต่อทางด้านศิลปะในระดับอุดมศึกษา ผมชื่อ     สุดยอด ควบคุม ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทายาลัยกรุงเทพ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าสาเหตุที่ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพราะว่า … ก่อนหน้าที่ผมจะได้เข้ามาศึกษาที่คณะนี้ ผมเองเคยศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ทำให้ผมพบว่ามันมีข้อมูลอยู่น้อยมากจริง ๆ  โดยบทความที่เขียนขึ้นนี้ ซึ่ง เป็นประสบการณ์ตรงจากผมเอง ที่ได้เข้ามาศึกษาและอยากเผยแพร่ประสบการณ์ตรงนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับทุกท่านหรือน้อง ๆ ทุกคนที่กำลังสนใจอยากเข้าเรียนที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพแห่งนี้ครับ J
ต้องบอกก่อนว่าคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพแบ่งออกเป็น ภาควิชาคือ
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (Communication Design)
สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ (Fashion and Textile Design)
สาขาวิชาทัศนศิลป์ (Visual Arts)


** ก่อนอื่นดูรายละเอียดทั่วไปของภาควิชาทัศนศิลป์กันก่อนดีกว่าครับ
ภาควิชาทัศนศิลป์ หรือ Visual Art
สาขาวิชาทัศนศิลป์มีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาศักยภาพทางความคิด การสร้างสรรค์ การนำเสนอผลงานศิลปกรรมที่ก้าวหน้าและสามารถเชื่อมโยงศิลปะเข้ากับสังคมได้อย่างกว้างขวาง นักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์ จะได้เรียนรู้พื้นฐานทางศิลปะ ทฤษฏี ปรัชญาและประวัติศาสตร์ศิลปะ รวมไปถึงการสร้างทักษะความสามารถในเชิงเทคนิคการผลิตผลงาน โดยการศึกษาดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบจัดกลุ่มวิจารณ์ การร่วมสัมมนากับคณาจารย์ ศิลปิน และนักวิชาการจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การอบรมเชิงปฏิบัติการรวมไปถึงการร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่สาขาวิชาจัดขึ้นร่วมกับองค์กรและสถาบันศิลปะอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
    คุณกำลังจะเป็นที่ต้องการในอาชีพ
ศิลปิน
อาจารย์สอนศิลปะ
นักเขียนภาพประกอบ
นักวิจารณ์ศิลปะ
นักออกแบบนิทรรศการ หรือร่วมกับสถาบันต่างๆ
เช่น พิพิธภัณฑ์หอศิลป์ สถาบันการศึกษาบริษัทโฆษณา เป็นต้น 

หลักสุตร
      หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ เป็นหลักสูตร ภาษา แยกออกเป็นแผนกการศึกษาแบบปกติ และแบบสหกิจศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
      แผนการศึกษา ปี แบบสหกิจศึกษา
      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 139 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือก หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ 103 หน่วยกิต
วิชาแกน 24 หน่วยกิต
วิชาเอก-บังคับ 70 หน่วยกิต
วิชาเอก-เลือก หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี หน่วยกิต
รวม 139 หน่วยกิต

ความลับของงานศิลปะที่หลายคนยังไม่รู้
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมภาพที่วาดขึ้นเขาถึงขายแพงกันจัง ... แล้วทำไมมีคนซื้อ ?ผมคิดว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ ถึงความหมายของงานศิลปะอย่างแท้จริงผมมีอาจารย์ที่สอนวาดภาพอยู่ท่านนึง วันนั้นเห็นอาจารย์นั่งวาดภาพผู้หญิงคนนึง อยู่บนท้องฟ้าอุ้มเด็กตัวเล็ก ๆ อยู่ด้วยคนนึง ด้านล่างของภาพมีดอกบัว ออกดอกสวยงาม และมีเด็กทารกแรกเกิดอยู่ในนั้น ภาพนั้นเป็นสีสลัว ๆ เป็นช่วงพลบค่ำ แต่ใบหน้าของผู้หญิงคนนั้น เห็นได้อย่างชัดเจน สายตาดูโอบอ้อมอารีมาก ผมถามอาจารย์ว่า "ภาพนี้ขายเท่าไร "อาจาย์ตอบว่า 100,000 บาท - -'' >> ผมถามว่าทำไมอาจารย์ถึงขายแพงขนาดนั้น อาจารย์ตอบว่า "ภาพเนี้ยเป็นภาพจากความฝันของคนที่มาจ้างให้อาจารย์วาด เขาฝันเห็นแม่ของเขาอุ้มเขาขึ้นมาจากดอกบัว" >> หลังจากวันนั้น ผมเข้าใจอย่างสุดซึ่งว่าทำไม ภาพวาดแต่ละภาพถึงแพง นอกเหนือจากฝีมือของช่างวาดที่จะต้องชำนาญแล้ว อีกสิ่งหนึ่งคือภาพถ่ายไม่สามารถทำเหมือนภาพวาดได้ แต่ภาพวาดสามารถทำได้ยิ่งกว่าภาพถ่าย ... คุณลองคิดดูสิครับใครจะไปถ่ายภาพจากความฝันได้ นอกเหนือจากสร้างสรรค์มันขึ้นมาด้วยศิลปะ :))))

ไม่มีพื้นฐานทางศิลปะเลย สามารถเข้ามาเรียนที่นี่ได้ไหม ?
                                   ข้อดีของการเข้ามาเรียนที่นี่คือเราจะมีการปูพื้นฐานใหม่พร้อม ๆ กันทั้งหมดครับ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะทำไม่ได้ ขอแค่รักในการทำงานศิลปะครับ และต้องขยันครับ ไม่ว่าเรียนที่ไหนคณะอะไร ก็ต้องขยันทั้งนั้นล่ะครับ งานค่อนข้างจะเยอะเหมือนกันครับก็ต้องพยายามแบ่งเวลาดีดีครับ แล้วก็จะเรียนได้อย่างมีความสุขแน่นอนครับ ที่นี่เราอยู่กันแบบพี่น้องครับ J
มีกิจกรรมอะไรบ้างถ้าเข้ามาเรียนที่นี่ ?
                                    ก่อนอื่นจะมีการปฐมนิเทศของมหาวิทยาลัยซึ่งอันนี้ต้องเข้ากันทุกคนครับ และก่อนหน้านั้นก็จะเป็นกิจกรรมพี่พบน้องซึ่งใช้เวลาประมาณ วัน จัดโดยพี่ ๆ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งจะเรียกตัวเองว่าพี่ Smo เป็นกิจกรรมสนุกสนานครับ ทำให้ได้พบเพื่อน ๆ ใหม่ทีเราจะได้อยู่ด้วยกันถึง ปี … อันนี้ส่วนตัวผมแนะนำให้มาครับเพราะมันดีมาก ๆ ซึ่งเราจะได้รู้จักกับเพื่อนทั้ง เอกของคณะศิลปกรรมทั้งหมดครับ คนเยอะดีครับ มานั่งดูสาว ๆ ก็คุ้มแล้วครับจากนั้นมันก็จะมีการซ้อมเชียร์เล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ สำหรับกีฬาสีของคณะอันนี้ไม่บังคับ J
มีสิทธิพิเศษอะไรบ้างสำหรับเด็กศิลปกรรม ?
                          คณะเราเป็นคณะเดียวครับที่สามารถใส่ชุดนอกมาเรียนได้ ย้ำครับว่าใส่ชุดนอกมาเรียนได้ เจ๋งไปเลยใช่มั๊ยล่ะ 555 ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า คณะเราเป็นคณะเกี่ยวกับศิลปะไงครับ ถ้าสมมุติคนที่เรียนแฟชั่นแล้วไม่สามารถแต่งตัวแนว ๆ มาเรียนได้มันก็ไม่เกิดการเรียนรู้ที่สนุกไงครับ แล้วก็ถ้าให้ภาควิชาทัศนศิลป์ใส่ชุดนัดศึกษามาวาดรูปก็เปรอะเปื้อนกันพอดี เราจึงสามารถใส่ชุดนอกมาเรียนได้ครับ ชิว ๆ J ส่วนวิชานอกคณะอื่น ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ เราก็ควรใส่ชุดนักศึกษานะครับ
เรียนทัศนศิลป์แตกต่างจากจิตรกรรมยังไง ?
                                ข้อดีของการเข้ามาศึกษาที่นี่คือเราจะได้ศึกษาและปูพื้นฐานใหม่พร้อมกันครับ วิชาหลักที่เข้ามาแล้วต้องเจอตอนแรกคือวิชา ดรออิ้ง ครับต้องเรียนทุกสาขาวิชาของศิลปกรรม แต่ภาควิชาทัศนศิลป์จะมีดรออิ้งตัวครับ คือดรออิ้งพื้นฐานกับดรออิ้งสร้างสรรค์ ถ้าถามว่าทัศนศิลป์ ม.กรุงเทพ แตกต่างจากจิตรกรรมอย่างไร คงจะเป็นในส่วนของตัวหลักสูตรเองที่นี่เราเน้นสร้างสรรค์ครับ ตามสโลแกนของมหาวิทยาลัย ต้องบอกเลยว่าหลักสูตรตอนนี้ ของทัศนศิลป์เราไม่มีเรียนพอร์ทเทรด (วาดภาพคนครึ่งตัว) และ ฟิกเกอร์ (วาดภาพคนเต็มตัว) ครับ แต่เราสามารถฝึกฝนด้วยตัวเองได้ครับ เพราะจากที่สอบถามมาที่นี่จะเน้นงานศิลปะที่เป็นสากลมากกว่าครับ เป็นแนว ๆ ศิลปะร่วมสมัย เกี่ยวข้องกับการใช้ศิลปะมาตอบสนองความคิดของตัวเอง ไม่ใช่แค่วาดรูปอย่างเดียว มีการใช้วัสดุต่าง ๆ มาทำเป็นงานศิลปะ ซึ่งพวกเราทัศนศิลป์เมื่ออยู่ชั้นปีที่ ก็จะต้องเริ่มศึกษาการจัดนิทรรศการแสดงงานครับ 

แล้วอีกอย่างที่สำคัญมากเลยนะครับซึ่งเราต้องทำตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 - 4 เลยก็คือ การเดินทางไปดูงานศิลปะตามแกลเลอรี่ต่าง ๆ หลัก ๆ ก็จะอยู่ในกรุงเทพนั่นละครับ เรียกได้ว่ามีงานเปิดที่ไหนก็ต้องไปครับ เพราะเราเรียนศิลปะ สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือที่เรื่องของ Connecting ครับ เราต้องไปงานบ่อย ๆ แล้วเราก็จะได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่างครับ ที่ต้องไปบ่อย ๆ ก็จะมี

-Bangkok University Gallery (BUG) หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
-หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
-Jim Thompson
-100Tonson Gallery


 ภาพบรรยากาศการเรียนการสอนจริงของภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ !!

เทอม 1 ปี 1

 FA101 วิชาดรออิ้ง1 (DrawingI)
                        จะได้เรียนเกี่ยวกับการวาดภาพเหมือนบนกระดาษบรู๊ฟโดยใช้ดินสอ EE เกรยอง ดินสอพาสเทลสีขาวบนกระดาษเทาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสังเกตุแสงเงาของวัตถุ ซึ่งอาจารย์จะเป็นคนจัดวัตถุจริงให้ในการทำงานแต่ละครั้ง และมีการวิจารย์ผลงานกันทุกครั้งที่มีการเรียนการสอนและส่งงาน อาจารย์จะสอนขั้นตอนการวาดภาพทุกอย่างครับทั้งตัวทฤษฎีและปฏิบัติ เรียกได้ว่าปูพื้นฐานกันใหม่ให้แน่นไปเลยครับ







VA121 วิชาเพ้นติ้ง1 (PaintingI)
                         มาถึงวิชาเพ้นกันแล้ว โดยวิชาเพ้น1 อุปกรณ์ที่เราจะใช้กันคือ สีอะคลีลิคบนเฟรมผ้าใบขนาด 50x60 ซม. ซึ่งก็จะมีการเรียนการสอนคล้ายกับการเรียนดรออิ้งแต่เปลี่ยนมาใช้สีครับ โดยอาจารย์จะจัดหุ่นนิ่งให้ในแต่ละสัปดาห์ และจะมีการใช้เวลามากกว่าคือ จะมีกำหนดส่งงานอาทิตย์ละหนึ่งครั้งคือเราต้องหาเวลาว่างของการเรียนในแต่ละสัปดาห์มาทำ และในคาบที่มีเรียนเพ้นก็จะเป็นการส่งงานรวมถึงมีการวิจารณ์งานให้คะแนนใจแต่ละชิ้นงานและก็เรียนภาคทฤษฎีด้วยครับ




         



FA103  Two Dimensional Design วิชาออกแบบงานสองมิติ
                  เป็นวิชาที่จะสอนให้เราฝึกออกแบบงานจาก เส้น รูปร่าง รูปทรง จุด เป็นการสร้างรูปภาพจากทัศธาตุอะไรประมาณนี้ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความสมดุล ความรุนแรง แรงกดดัน การเคลื่อนไหว เป็นงานออกแบบที่ดูง่ายแต่เรียนจริงๆ ก็อาจจะปวดหัวนิดนึงนะครับ คือ อาจารย์เค้าจะตั้งโจทย์ให้เราในชั่วโมงเรียน หน้าที่ของเราคือ วาด ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ ครับ วาดเยอะ ๆ เป็นรูปเล็ก ๆ ขนาด 5 x 5 cm  พอถึงเวลาก็เอาไปให้อาจารย์ดู ไปคุยวาเราชอบอันไหน แล้วก็คัดงานนั้นมาขยายแล้วทำจริง ๆ ครับ ทำแบบนี้ไปตลอดทั้งเทอมโดยโจทย์ก็จะยากขึ้น และเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

FA105 History of Arts I
                    วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ตัวที่หนึ่ง จริง ๆ เป็นหนึ่งในวิชาที่ผมชอบมาก ๆ เลยนะครับวิชานี้ แต่ต้องบอกเลยว่า เป็นหนึ่งวิชาที่ผมคิดว่ามีเด็กทัศนศิลป์ดรอปทุกปีครับ ความยากง่ายมันอยู่ที่ การเรียนวิชานี้เป็นการวิเคราะห์ทั้งหมดครับ และต้องวิเคราะห์ด้วยตัวเองไม่สามารถ Copy จากอินเตอร์เน็ตได้ แต่เราไช้หาข้อมูลสนับสนุนได้ คือเราต้องเข้าใจแก่นแท้ของมันเกี่ยวกับความเป็นมาของศิลปะ ซึ่งวิชานี้ในขั้นต้น อาจารย์จะสอนตั้งแต่กำเนิดมนุษย์เลยครับ ตั้งแต่อยู่ในถ้ำ ภาพวาดในถ้ำ มาจนถึงยุคอียิปต์โบราณเลยครับ เป็นการเริ่มต้นอารยธรรมของมนุษย์ และเราต้องตั้งคำถามตลอดเวลา ว่าทำไม? อะไร? ยังไง? ซึ่งวิชานี้ทำให้ผมรู้ด้วยนะครับว่า พีระมิดสร้างขึ้นมาได้ยังไง หลังจากที่ผมสงสัยมาตลอดชีวิต เรียกได้ว่ากระจ่างเพราะวิชานี้เลยครับ 555 แล้วคือก่อนจบวิชานี้สิ่งที่ นศ. หวั่น ๆ ที่สุดก็คือการทำรายงานครับ (อาจารย์แกเรียกว่าอย่างงั้น) แต่ผมคิดว่ามันควรเรียกว่าวิจัยมากกว่า 555 เพราะเราต้องเสนอหัวข้อครับว่า เราจะทำเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นงานกลุ่มจับกลุ่มเองครับ ตัวอย่างเช่น "ทำไมท้องฟ้าถึงสีฟ้า" "การเขียนอักษรฮีโรกราฟฟริกทำได้อย่างไร" "การทำมัมมี่ทำอย่างไร" อะไรประมาณนี้อะครับ ซึ่งพอถึงคาบสุดท้ายเราต้องนำข้อมูลทั้งหมดที่เรารีเสริช รวมถึงผลสรุปของเรามาเสนอหน้าห้องเรียน โดยรวมมันก็สนุกปน ๆ กับเครียดนะครับที่กลัวหาคำตอบไม่ได้ .... ผมมีตัวอย่างงานผมที่ผมเรียนมาให้ดูนะครับ โดยงานที่ผมทำคื่อ "กรรมวิธีการทำขนมปังในยุคอียิปต์โบราณ" ครับ (ต้องลงพื้นที่ทำกันจริง ๆ เลยครับ ไปดูกัน)



FA107 Color Theory ทฤษฎีสี
               วิชาทฤษฎีสี โดยรวมเป็นวิชาที่ง่ายและสนุกครับ คือได้ผสมสีกันมันส์เลยก็ว่าได้ สีที่ใช้ในวิชานี้คือสีโปสเตอร์ครับ คืออาจารย์จะสอนเราเกี่ยวกับหลักการของสี สีคู่ตรงข้าม สีขั้นที่หนึ่งขั้นที่สอง ขั้นที่สาม หลักการของสีร้อนสีเย็น สีให้ความรู้สึกอะไรประมาณนี้ครับ มีโจทย์ให้ทำในห้องและมีโจทย์ให้ทำเป็นการบ้าน ยากง่ายขึ้นไปเรื่อย ๆ ครับ วิชานี้ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงครับ แค่ชอบและเอาใจใส่ในงานเท่านั้น

และอีกสองวิชาที่เหลือเป็นวิชานอกคณะครับสำหรับเทอมนี้
GE111 Value of Graduates (จิตอาสา)
EN011 English in Action (ภาษาอังกฤษ 1 )

เทอม 2 ปี 1

FA102  Drawing II วิชาดรออิ้ง2
                  หลังจากที่เราจบวิชาดรออิ้งจากเทอมที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เทอมที่แล้วนั้นเราจะได้วาดหุ่นนิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลาที่เราเรียน คือเน้นการฝึกทักษะของเรานั่นเองให้เราวาดสิ่งต่าง ๆ คือวาดให้สมส่วนและสวยงาม แต่พอมาถึงดรออิ้ง 2 นี้นะครับ จริง ๆ อาจจะเรียกได้ว่ามันคือวิชาดรออิ้งสร้างสรรค์ครับ คือเราจะได้รับการลดเรื่องการเน้นวาดให้เหมือนลงมา คืออาจไม่จำเป็นต้องวาดเหมือนก็ได้ครับ แต่เน้นความคิด การคิดสร้างสรรค์ สร้างงานดรออิ้งออกมาจากจินตนาการของเรา โดยจะดูจากรูปหรือจินตนาการอะไรก็ได้ครับ สร้างสรรค์มันออกมาตามโจทย์ที่ได้ หรือในบางครั้งอาจารย์ก็ให้เราคิดโจทย์เองครับ จะใช้สีไม้ก็ได้ครับ การตัดภาพแปะก็ได้ครับ ก็จะเห็นได้ว่ามันเริ่มสนุกขึ้นเรื่อย ๆ ครับ สำหรับการดรออิ้ง :)

FA104 Three Dimensional Design วิชาออกแบบสามมิติ
                   เป็นภาคต่อสองวิชาออกแบบสองมิตินั่นเองครับ ซึ่งสำหรับผมนะผมจะเบื่อวิชาสองมิติมากครับ แต่พอมาเป็นวิชาสามมิติ มันกลับสนุกขึ้นมาซะอย่างนั้น คือลักษณะการเรียนจะคล้ายกับการเรียนสองมิติเลยครับ มีการกำหนดโจทย์เกี่ยวกับความสมดุล แรงโน้มถ่วงอะไรพวกนี้ แต่จะแตกต่างตรงที่คราวนี้เราต้องทำงานออกมาในแบบสามมิติครับ คือจับต้องได้ ใครมีไอเดียอะไรสนุก ๆ ดีดี ก็จัดไปได้เลย โดยแต่ละครั้งที่ทำงาน สุดท้ายก็ต้องมานั่งวิจารณ์งานของเพื่อน กันและกันนั่นแหละครับ เพื่อให้เราพัฒนาไปเรื่อย ๆ ครับ

FA106 History of Arts II ประวิติศาสตร์ศิลป์2
                    ยินดีด้วยนะครับสำหรับใครที่ผ่านจากวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ตัวแรก เพราะนี่คือภาคต่อของ HIS1 นั่นเองครับ จริง ๆ วิชานี้ไม่ได้เป็นวิชาที่ยากอะไรหากแต่เราต้องอ่านหนังสือครับ ทำความเข้าใจกับมัน แค่นั้นเอง โดยจากความเดิมตอนที่แล้ว ประวัติศาสตร์ศิลป์สอนเกี่ยวกับอารยธรรมแรกเริ่มของมนุษย์หลาย ๆ อย่าง พอมาถึง HIS2 เนื้อหามันจะเข้มข้นขึ้นครับ แต่ไม่ยากถ้าเราอ่านครับ โดยจะมาเน้นในเรื่องของศิลปะลัทธิต่าง ๆ แล้วครับ เช่น Cubism Impressionism Realism Astract รวมถึงเราจะได้ทำความรู้จักกับศิลปินต่าง ๆ หลายคนด้วยครับ เช่น Paul Cezanne Picasso คือเราศึกษาตามแบบฉบับสากลนะครับ เป็นศิลปินต่างประเทศทั้งหมดครับ ที่มาที่ไปต่าง ๆ มีเหตุมีผลเชื่อมโยงกันครับ และสุดท้ายเราก็ต้องทำรายงานเรื่องที่เราสนใจอีกเช่นเคยพร้อมออกไปพูดหน้าห้องครับ ... และขอบอกอีกว่าคราวนี้ งานเดี่ยวครับผม :)

FA108 Basic Visual Computing คอมพิวเตอร์พื้นฐาน
                     วิชานี้ผ่อนคลายครับสบาย ๆ ชิว ๆ กันเลย สำหรับใครที่ใช้คอมบ่อยอยู่แล้วยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ วิชานี้เค้าจะสอนเราเกี่ยวกับพื้นฐานหลัก ๆ ของ Phostoshop และ Illustation ครับ ซึ่งมันจะจำเป็นมากครับในการทำแฟ้มสะสมผลงานในชั้นปีที่สูงขึ้นไป

VA122 Painting II เพ้นติ้ง2 (สีน้ำมัน)
                     มาถึงวิชาเพ้นกันอีกแล้ว โดยวิชาเพ้น2 เป็นวิชาหลักของภาคเรานั่นเอง อุปกรณ์ที่เราจะใช้กันคือ สีน้ำมันบนเฟรมผ้าใบขนาด 50x60 ซม. เหมือนเดิมครับ  โดยอาจารย์จะจัดหุ่นนิ่งให้ในแต่ละสัปดาห์ และจะมีการใช้เวลาคือ จะมีกำหนดส่งงานอาทิตย์ละหนึ่งครั้งคือเราต้องหาเวลาว่างของการเรียนในแต่ละสัปดาห์มาทำ และในคาบที่มีเรียนเพ้นก็จะเป็นการส่งงานรวมถึงมีการวิจารณ์งานให้คะแนนใจแต่ละชิ้นงานและก็เรียนภาคทฤษฎีด้วยครับ





และอีกสองวิชาที่เหลือเป็นวิชานอกคณะครับสำหรับเทอมนี้
EN012 English for Daily Life (ภาษาอังกฤษ2)
GE113 Thai Language for Creativity (วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร)

เทอม 1 ปี 2

VA223Sculpture I วิชาประติมากรรม I
                วิชานี้เป็นหนึ่งในวิชาเอกสำหรับเทอมนี้นะครับ ก็คือวิชาทำงานศิลปะสามมิตินั่นเอง โดยที่ในเทอมนี้ น.ศ. จะต้องทำงานจำนวนทั้งสิ้น 2 ชิ้นด้วยกัน นั่นก็คือ งานปูนปลาสเตอร์ 1 ชิ้น และงานไม้ 1 ชิ้น โดยงานทั้งสองชิ้นจะต้องขึ้นรูปด้วยดินเหนียวก่อน (และงานไม้น.ศ.ทุกคนต้องเข้าชอปไม้ ปฏิบัติงานจริงนะครับ) ไม้ที่ใช้ทำงานคือ ไม้สนเกรด A แบบแผ่นเดียวนะครับ ไม่ใช้ไม่ต่อนะ ซึ่งตัวไม้เนี้ยเราต้องซื้อเองครับ ราคาจะอยู่ที่ 300 - 500 บาทประมาณนี้ โดยจะแบ่งเวลาเป็นทำงานปูน 7 สัปดาห์ และงานไม้ 7 สัปดาห์ รวม 14 สัปดาห์ นั่นเท่ากับเทอมหนึ่งพอดีครับ ซึ่งเวลาทำงานจริง ๆ อาจะเหลือแค่ 6 สัปดาห์ก็ได้ ถ้ารวมกับการพรีเซ้นผลงานทั้งสองชิ้นด้วยครับ งั้นเดี๋ยวเราไปดูภาพบรรยากาศการเรียนวิชานี้กันเลยครับ ซึ่งบอกได้เลยว่าเปื้อนปูนสลับกะเศษขี้เลื่อยไม้กันเป็นแถว






ดูสภาพหลังจากเข้าชอปไม้ แนะนำให้ใส้ผ้าปิดปากกันด้วยนะครับ ^^






VA224 Printmaking I วิชาภาพพิมพ์ I
             วิชานี้ก็เป็นวิชาเอกเหมือนกัน งานค่อนข้างเยอะครับเพราะเราต้องทำควบคู่กับวิชาประติกรรมด้วยและวิชาอื่น ๆ อีกซึ่งสำหรับวิชาภาพพิมพ์ตัวแรกนี้นะครับ อาจารย์ก็จะสอนเราเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการของการทำภาพพิมพ์ในแบบพื้นฐานเลยครับ เรียกว่าเบสิกเลย ให้เราคุ้นเคยกับมัน วิชาภาพพิมพ์ โดยหลักแล้วก็คือการทำแม่พิมพ์แล้วก็พิมพ์อะครับ เพื่อให้เกิดเป็นงานของเราและมันก็ต้องสามารถพิมพ์ซ้ำได้ด้วยครับ การเรียนทั้งหมด 14 สัปดาห์ แบ่งเป็นเรียนภาพพิมพ์ 7 สัปดาห์ แล้วก็ ซิลสกรีน 7 สัปดาห์ครับ เดี๋ยวผมจะอัพรูปให้ดูอีกทีนะครับสำหรับวิชานี้

VA225 Photography วิชาถ่ายภาพ
             วิชานี้เป็นวิชาสบาย ๆ ครับไม่ยากเลย ยิ่งถ้าใครเป็นคนชอบถ่ายรูปนะครับที่ง่ายเข้าไปใหญ่ โดยรวมวิชานี้ อาจารย์น่ารักเป็นกันเองดีครับ สอนตั้งแต่ขั้นตอนการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มไปจนถึงกล้องโปรเลยครับ (ที่มอมีกล้องฟิล์มให้ยืม วันละ 20 บาท) สิ่งที่เราต้องซื้อก็คือกระดาษล้างรูปครับ ก็แพงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แล้วก็ม้วนฟิล์มครับ โดยเราจะต้องถ่ายรูปทุกอาทิตย์ครับ โดยแต่ละอาทิตย์อาจารย์ก็จะกำหนดโจทย์ให้เรา ว่าจะให้ถ่ายอะไรแบบไหนยังไง อาจจะมีจับคู่ถ่ายกับเพื่อนบ้างอะไรบ้าง ก็เดินถือกล้องอยู่รอบ ๆ มอ รอบ ๆ คณะ นั่นแหละครับ เจอสาว ๆ ตรงไหนก็ทำเนียนขอถ่ายรูปได้เลย 555 ก็คือพอเราถ่ายจนหมดฟิล์มใช่ป่ะครับ เราก็ต้องมาล้างครับ ถ้าเคยดูหนังพวกชัตเตอร์กดติดวิญญาณ ก็ห้องแดง ๆ นั่นแหละครับ ที่มอจะมีอุปกรณ์ให้เราตรงนี้ครับ แล้วอาจารย์ก็จะสอนเราในการล้างฟิล์ม พอล้างเสร็จก็จะรู้แล้วครับว่าใครถ่ายดีไม่ดี ถ่ายติดบ้างไม่ติดบ้างสำหรับกล้องฟิล์ม แต่อาจารย์ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไรครับ โดยรวมก็สนุกดี ซึ่งรูปแบบการเรียนจะคล้าย ๆ กับวิชาประติมากรรมแล้วก็ภาพพิมพ์นั่นแหละครับ คือเรียนกล้องฟิล์ม 7 อาทิตย์ และก็กล้องดิจิตอล 7 อาทิตย์ ซึ่งพอมาถึงการเรียนกล้องดิจิตอลนั้นจริง ๆ มันสนุกกว่าเรียนล้างฟิล์มอีกนะครับ คืออาจารย์เค้าให้ไปหาสัมภาษณ์คนที่เราอยากคุยด้วยหรือเป็นไอดอลของเราครับ แบบเป็นการเป็นงานเลยนะ แล้วก็ถ่ายรูปมา แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาทำหนังสือครับ ซึ่งหนังสือเราก็ต้องทำเองนะเป็น Photos Book ของเราเลย สนุกมากครับ (อาจารย์สอนเย็บหนังสือด้วย เอาไปทำขายได้เลย 555 ) 

VA231 Contemporary Arts and Postmodern Issues ศิลปะรวมสมัย
              วิชานี้เป็นวิชาเลคเชอร์ครับ เตรียมสมุดไป จดครับจดแนะนำให้จดเพราะวิชานี้ดีมากนะครับ ในแง่ของการเรียนรู้ทฤษฏีของศิลปะสมัยใหม่ ซึ่งหาไม่ได้จากวิชาอื่นนะครับ ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นถึงกระบวนการคิด ของคน และการพัฒนาของศิลปะแบบตะวันตกครับ และมันก็จะทำให้เรามีพื้นฐานที่ดีเมื่อเราขึ้นชั้นปีที่สูงขึ้นไปครับ

และอีกหนึ่งวิชาที่เหลือเป็นวิชานอกคณะครับสำหรับเทอมนี้
GE112 Information Technology and the Future World (วิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อโลก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น